Page 5 - sar61
P. 5

๒


                       2.2.1  การพัฒนาการอ่านส่งผลต่อการพัฒนาทักษะการคิดของนักเรียน การใช้วิธีการสอนให้
                              นักเรียนเรียนรู้อย่างมีความสุข การบูรณาการโดยใช้ STEM การบูรณาการข้ามกลุ่มสาระการ

                              เรียนรู้ทั้ง 8 กลุ่มสาระโดยใช้โครงงานเป็นฐาน สามารถเชื่อมโยงความรู้สู่การปฏิบัติในชีวิต
                              จริง ส่งผลท าให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลการเรียนที่ส่งผลการทดสอบขั้นพื้นฐาน
                              ระดับชาติ ONET มีคะแนนสูงสุด 100 คะแนนในวิชาคณิตศาสตร์ ในระดับชั้นประถมศึกษา
                              ปีที่ 6 และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และคะแนนเฉลี่ยโดยภาพรวมสูงขึ้นเพื่อเปรียบเทียบกับปี

                              การศึกษาที่ผ่านมา

                       2.2.2  โรงเรียนเกษมพิทยามีความเชื่อว่าการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ นวัตกรรม และน าไปสู่
                              กระบวนการวิจัยและพัฒนาจนเป็นรูปแบบที่น ามาใช้จนปัจจุบัน คือ รูปแบบการเรียนรู้อย่าง
                              มีความสุขที่ประกอบด้วยการปฏิบัติของนักเรียน การปฏิบัติของเพื่อนนักเรียน การปฏิบัติ
                              ของครู และวิธีการสอน ให้นักเรียนเรียนรู้ได้อย่างมีความสุข เป็นองค์ประกอบวิธีปฏิบัติที่

                              นอกจากนักเรียนและครูปฏิบัติต่อกันแล้ว ยังเป็นวิธีการสอนที่ครูใช้เพื่อให้นักเรียนเรียนรู้
                              อย่างมีความสุข จึงเป็นนวัตกรรมที่เป็นการปฏิบัติที่เป็นแบบอย่างที่ดี

                       2.2.3  การบริหารและการจัดการเพื่อยกระดับคุณภาพสู่สากล จ าเป็นที่จะต้องพัฒนาระบบประกัน
                              คุณภาพภายในและใช้มาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นส่วนส าคัญในการบริหารและพัฒนา
                              อย่างต่อเนื่องให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง การกระจายอ านาจให้ทุกส่วนในองค์กรของ

                              โรงเรียนเกษมพิทยามีส่วนร่วมในการจัดการคุณภาพการศึกษา อาทิ การกระจายอ านาจให้
                              ครูเป็นผู้จัดการห้องเรียนคุณภาพ การพัฒนาภาวะผู้น าของครูให้สามารถน าตนเองในการ
                              เปลี่ยนแปลงสู่ความเป็นมืออาชีพโดยใช้กระบวนการนิเทศในโรงเรียน (School

                              Supervision) ผู้บริหารนิเทศครูและสังเกตห้องเรียน (Classroom Observation) พัฒนาครู
                              ให้นิเทศกันเอง พัฒนาความเชี่ยวชาญในบทบาทหน้าที่ (Expertise) แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอด
                              บทเรียน สร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ ให้ครูพัฒนาตนเองร่วมกันสู่ความเป็นครูมืออาชีพ

                       2.2.4  การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ในการบริหารจัดการทั้งงาน
                              ธุรการ การเรียนการสอน การสร้างเครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียน ครู นักเรียน

                              ผู้ปกครอง และชุมชน

                       2.2.5  การพัฒนาบรรยากาศและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีความสุข สร้าง
                              สุนทรียะในความงาม ธรรมชาติ ให้ทุกพื้นที่ในโรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้ และเป็นบรรยากาศ
                              ที่หล่อหลอมวิธีการคิดเชิงจริยธรรมและการคิดทางบวก

               2.3  โรงเรียนมีแผนจะพัฒนาตนเองให้ได้มาตรฐานที่ดีขึ้นกว่าเดิม 1 ระดับ


                       2.3.1 การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน โดยมีโครงการรองรับได้แก่ โครงการพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ
                              โครงการพัฒนาหลักสูตรห้องเรียน โครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โครงการส่งเสริมสุข
                              ภาวะที่ดีและสุนทรียภาพ และโครงการส่งเสริมกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน

                       2.3.2 การพัฒนาระบบการบริหารและจัดการ โดยมีโครงการรองรับได้แก่ โครงการพัฒนาจัดการ

                              คุณภาพสู่มาตรฐานสากล โครงการห่วงใยใส่ใจในโรงเรียน และโครงการพัฒนาเครือข่าย
                              ความร่วมมือและความเป็นหุ้นส่วนทางการศึกษา
   1   2   3   4   5   6   7   8   9   10